วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จังหวัดในภาคอีสาน


ภาคอีสานมีทั้งหมด 20 จังหวัด ตามราชบัณฑิตยสถาน และตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   ซึ่งจัดแบ่งเหมือนกัน ดังนี้



เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน


จังหวัดนครราชสีมา  หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว


สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกเหวนรก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่            อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   มหาวีรวงศ์ อ.เมือง       วัดสุทธจินดา อ.เมือง
วัดศาลาลอย อ.เมือง   ประตูชุมพล อ.เมือง    ประพลแสน อ.เมือง
ประตูพลล้าน อ.เมือง      ประตูไชยณรงค์ หรือประตูผี อ.เมือง      
สวนสาธารณะแม่น้ำมูล อ.เฉลิมพระเกียรติ    วัดป่าหลักร้อย อ.โนนไทย        หม่บ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย
ปรางค์พะโค อ.โชคชัย     หมู่บ้านศิลปะหินทรายบ้านหนองโสน อ.โชคชัย    หลวงพ่อใหญ่ วัดนอก อ.โชคชัย      
กู่เกษม อ.ปักธงชัย    เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย       ปราสาทเมืองเก่า อ.สูงเนิน   ปราสาทโนนกู่ อ.สูงเนิน
สวนป่าริมทางบ้านคลองหลวง อ.โนนสูง  แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อ.โนนสูง  วิหารหลวงพ่อโต อ.สีคิ้ว
น้ำตกคลองกุ่ม อ.วังน้ำเขียว  น้ำตกคลองดินดำ อ.วังน้ำเขียว 
โครงการกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.วังน้ำเขียว    เขาแผงม้า อ.วังน้ำเขียว
คลองปลากั้ง อ.วังน้ำเขียว   แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อ.วังน้ำเขียว น้ำตกห้วยใหญ่ อ.วังน้ำเขียว
ทองสมบูรณ์คลับ อ.ปากช่อง  ตลาดป่าสน อ.ปากช่อง  สวนนก อ.ปากช่อง
ปาลิโอเขาใหญ่ อ.ปากช่อง  ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ อ.ปากช่อง  หาดชมตะวัน อ.เสิงสาง






เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา
ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว
ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า เมืองกาฬสินธุ์หรือ เมืองน้ำดำซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล กาฬแปลว่า ดำ” “สินธุ์แปลว่า น้ำกาฬสินธุ์จึงแปลว่า น้ำดำและยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง


สถานที่ท่องเที่ยว
อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร ( ท้าวโสมพะมิตร ) (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
วัดกลาง (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )      วัดศรีบุญเรือง (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
วัดป่ามัชฌิมวาส        เขื่อนลำปาว (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
สวนสะออน(อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )                                        หาดดอกเกด (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
พระพุทธสถานภูปอ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )     พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
ฟ้าแดดสงยาง (อำเภอกมลาไสย)    พระธาตุยาคู (อำเภอกมลาไสย)
ใบเสมาบ้านก้อม (อำเภอกมลาไสย)      โนนสาวเอ้ (อำเภอกมลาไสย)
หมู่บ้านพัฒนาวัฒนธรรมผู้ไทยบ้านโคกโก่ง (อำเภอกุฉินารายณ์)   น้ำตกตาดสูง (อำเภอกุฉินารายณ์)
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท (อำเภอกุฉินารายณ์)    น้ำตกตาดทอง(อำเภอเขาวง)
เครือข่ายอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน บ้านโพนสวรรค์ (อำเภอเขาวง)   พระธาตุพนมจำลอง (อำเภอห้วยเม็ก)
พิพิธภัณฑ์สิรินธร (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว) (อำเภอสหัสขันธ์)   พระพุทธไสยาสน์ถ้ำภูค่าว (อำเภอสหัสขันธ์)


เทศกาลและงานประเพณี
งานมหกรรมโปงลาง แพรวาและกาชาด
งานมหกรรมวิจิตรแพรวาราชินีแห่งไหม
อุทยาน
จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื่นที่ป่าทั้งหมดประมาณ ๑,๑๕๐,๐๐๐ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๒๗ ของพื่นที่ในจังหวัด
อุทยานแห่งชาติภูพาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของป่าสงวน ฯ ป่าแก้งกะอาม และบางส่วนของป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ และอำเภอห้วยผึ้ง มีพื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ ๕๗,๕๐๐ ไร่ ประกาศเป็นอุทยาน ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และปี พ.ศ. ๒๕๒๕
อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ อ.คำม่วง อ.สมเด็จ บางส่วน
วนอุทยานภูพระ อยู่ในตำบลนาตาล อำเภอทุ่งคันโท มีพื้นที่ประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงมูล
วนอุทยานภูแฝก อยู่ที่บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงห้วยผา




พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก


จังหวัดขอนแก่น  เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่รองจากจังหวัดนครราชสีมาและอุบลราชธานีตามลำดับ ,มีเศรษฐกิจ และความเป็นศูนย์กลางรองจากจังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนไปเข้าภาคเหนือที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทั้งทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์



 สถานที่ท่องเที่ยวในขอนแก่น
แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี
ศาลหลักเมืองขอนแก่น: เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวขอนแก่น ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ ถนนเทพารักษ์ หน้าสำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น ท่านเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนีและหลวงธุรนัยพินิจ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้นำหลักศิลาจารึกมาจากโบราณสถานในท้องที่อำเภอชุมแพมาประกอบพิธีตามแนวทางพระพุทธศาสนาทำเป็นหลักเมืองเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2499
พระมหาธาตุแก่นนคร: ตั้งอยู่ภายในวัดหนองแวงพระอารามหลวง ถนนกลางเมือง เป็นศิลปะสมัยทวารวดีผสมผสานศิลปะอินโดจีน รูปทรงแบบชาวอีสานตากแห มี 9 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีการตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลัก และภาพเขียนอย่างงดงาม เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวขอนแก่น และเป็นสถานที่ชมทัศนียภาพเมืองขอนแก่น
อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์: ตั้งอยู่ที่สวน เจ.ซี. ถนนรอบบึง พระนครศรีบริรักษ์หรือท้าวเพี้ยเมืองแพนเป็นขุนนางเชื้อพระวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ มีธิดาชื่อนางคำแว่นเป็นสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปี พ.ศ. 2332 ท้าวเพี้ยเมืองแพนได้พาสมัครพรรคพวกประมาณ 330 คน อพยพมาอยู่ที่บ้านบึงบอน ขึ้นตรงต่อพระยานครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2340 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็น "เมืองขอนแก่น" และยกฐานันดรศักดิ์ท้าวเพี้ยเมืองแพนขึ้นเป็น "พระนครศรีบริรักษ์" พ่อเมืองคนแรกของจังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2525 ประชาชนชาวขอนแก่น ได้ร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และเคารพสักการะของชาวเมือง
น้ำส่างสนามบิน: ตั้งอยู่บริเวณถนนหน้าศูนย์ราชการ ตรงข้ามโรงเรียนสนามบินด้านทิศเหนือ เป็นบ่อน้ำประวัติศาสตร์ที่มีมาก่อนที่เมืองขอนแก่นจะมีน้ำประปาบริโภค เป็นจุดรวมใจของชาวขอนแก่น เป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวขอนแก่นในอดีต และให้คุณประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่แก่ประชาชนชาวขอนแก่นมาเป็นเวลายาวนาน
ศาลหลักเมือง (เมืองเก่า) : เป็นศาลหลักเมืองหรือบือบ้านที่ท้าวเพี้ยเมืองแพนได้ตั้งไว้ ณ บริเวณใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสาหลักเมืองขอนแก่นหลักแรกก่อนจะมีการย้ายเมืองอีก 5 ครั้ง ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณซอยกลางเมือง 21 ด้านข้างศูนย์กัลยาณมิตร













พระธาตุขามแก่น: พระธาตุขามแก่นตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 500


 อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
อุทยานแห่งชาติภูเวียง







ชัยภูมิ ทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษ สุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทวารวดี


จังหวัดชัยภูมิ  เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอันดับ 7 ของประเทศ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 12,778.3 ตารางกิโลเมตร นับเป็นที่ตั้งของแหล่งอารยธรรมอันเก่าแก่ นับตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม กระทั่งสมัยที่ได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรล้านช้าง
ชัยภูมิมีเขตติดต่อกับจังหวัดเพื่อนบ้านหลายจังหวัด ได้แก่ ทางเหนือ ติดกับเพชรบูรณ์และขอนแก่น ทางตะวันออกติดกับขอนแก่นและนครราชสีมา ทางตะวันตกติดกับเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี และทางใต้ติดกับจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิมีระยะทางจากจังหวัดนครราชสีมา172กิโลเมตร




สถานที่ท่องเที่ยว
อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล                               ศาลเจ้าพ่อพระยาแล
ศาลเจ้าพ่อหลวงบรรเทา (ศาลหลักเมืองจัตุรัส)        วัดศิริพงษาวาส (พระธาตุเจดีย์ศิริมหามงคล)
อุทยานแห่งชาติตาดโตน                                  วัดสระหงษ์
น้ำตกตาดฟ้า                                              วัดศิลาอาสน์
พระปรางค์กู่                                             ใบเสมาบ้านกุดโง้ง                                    
 น้ำตกผาเอียง                                          อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
                           ประตูโขลง                                               พระพุทธรูปใหญ่สมัยทวารวดี                        
                            ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้                                 พระธาตุหนองสามหมื่น
                        บึงละหาน                                                      เขื่อนลำปะทาว
                           วัดชัยสามหมอ                                              พระแท่นบัลลังก์







ศาสนสถานที่สำคัญ
วัดทรงศิลา       วัดป่าสุคะโต    วัดภูแฝด     วัดศิลาอาสน์
วัดสระหงส์   วัดอินทรีย์สังวรวนาราม   พระปรางค์กู่
อาณาจักรโบราณ
อาณาจักรทวารวดี   อาณาจักรอิศานปุระ         อาณาจักรล้านช้าง     อาณาจักรละโว้            อาณาจักรจามปา            อาณาจักรฟูนาน       อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์     นครกาหลง           อารยธรรมจากอินเดีย         อารยธรรมเขมร         อารยธรรมลาว








พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง

จังหวัดนครพนม  เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานไม่แพ้จังหวัดนครราชสีมามีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง
พื้นที่ชายแดนด้านเหนือและตะวันออกของนครพนมติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอด ตั้งแต่อำเภอบ้านแพงลงมาจนถึงอำเภอธาตุพนม สามารถเดินทางข้ามฝั่งโขงไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้หลายจุด

สถานที่สำคัญ
อำเภอเมืองนครพนม  วัดโอกาสศรีบัวบาน  วัดศรีเทพประดิษฐาราม  วัดมหาธาตุ   วัดนักบุญอันนา
วัดโพธิ์ศรี  พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม   สวนหลวง ร.9  เขื่อนหน้าเมืองนครพนม
สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน)  หาดทรายทองศรีโคตรบูร
หมู่บ้านมิตรภาพไทย-เวียดนาม (บ้านท่านโฮจิมินห์)

อำเภอปลาปาก วัดพระธาตุมหาชัย
อำเภอท่าอุเทน พระธาตุท่าอุเทน  พระบางวัดไตรภูมิ รอยเท้าไดโนเสาร์
อำเภอธาตุพนม พระธาตุพนม
อำเภอเรณูนคร  เรณูนคร  พระธาตุเรณู
อำเภอนาแก  พระธาตุศรีคุณ  วัดภูถ้ำพระ ดานสาวคอย
อำเภอนาหว้า พระธาตุประสิทธิ์








เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

จังหวัดบุรีรัมย์   เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 6 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย ในสมัยก่อนบุรีรัมย์เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูร และอาณาจักรทวารวดีเคยเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา





สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์                      
อำเภอเมือง
ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ เป็นแหล่งเก็บรวบรวม และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็นแหล่งที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ศูนย์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2536 เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันในเวลาราชการ
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่พสกนิกรชาวบุรีรัมย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แห่งผู้สถาปนาเมืองบุรีรัมย์ และเพื่อเป็นอนุสรณ์สักการะ รวมทั้งศูนย์รวมจิตใจที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมหาจักรีบรมราชวงค์ 


อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเขาพนมรุ้งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราสาทหินที่งดงามมากแห่งหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายสีชมพู และศิลาแลงอย่างยิ่งใหญ่อลังการมีการออกแบบผังปราสาทตามแนวความเชื่อที่สอดคล้องกับภูมิประเทศศาสนสถานแต่ละส่วนประดับด้วยลวดลายวิจิตรงามตาโดยเฉพาะหน้าบันศิวนาฎราชและทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีความงดงามละเอียดอ่อนช้อย นับเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าที่ไม่ควรพลาดชมในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (ประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค.) ของทุกปีจะมีประเพณีเดินขึ้นเขาพนมรุ้งเพื่อชมปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่ามหรรศจรรย์คือ พระอาทิตย์จะสาดแสงตรงเป็นลำทะลุช่องประตูปราสาททั้ง 15 บานราวปาฏิหารย์และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบปีเท่านั้น
อำเภอนางรอง อ่างเก็บน้ำทุ่งแหลม


อำเภอประโคนชัย
ปราสาทเมืองต่ำ เมืองโบราณร่วมสมัยกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำเป็นปราสาทหินของโบราณที่มีขนาดใหญ่มาก สร้างขึ้นตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตัวปราสาทออกแบบได้อย่างงดงาม มีโครงสร้างที่ได้สัดส่วนบริเวณโดยรอบปราสาท เป็นชุมชนโบราณสมัยขอม ที่มีประวัติเกี่ยวเนี่ยงกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำจึงมีความสำคัญทางโบราณคดี นอกเหนือจากเป็นมรดกทางศิลปกรรมที่งดงาม ปราสาทแห่งนี้ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2540
ชุมชนโบราณบ้านแสลงโทน เป็นชุมชนโบราณตั้งอยู่ในเขตบ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ ตามทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวงตัดผ่ากลางชุมชนโบราณ มองเห็นคันดินเป็นแนวสูงประมาณ 5-7 เมตร อยู่สองข้างทาง ชุมชนโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็นรูปกลมรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก ยาวประมาณ 3,000 เมตร กว้าง 750 เมตร มีคูเมืองโอบอยู่นอกคันดิน 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นเดียว ใกล้คันดินด้านที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซึ่งมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายเข้าใจว่าเคยมีศาสนสถาน แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปู่เจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็นศาลเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแสลงโทนและชาวบ้านใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคามุงกระเบื้องและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ ทั้งคูน้ำคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นที่สำคัญ คือ สระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมในเขตวัดแสลงโทน 2 สระ พบเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เทวรูปเก่าและใบเสมาเก่า ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชนโบราณ

อำเภอบ้านกรวด
แหล่งหินตัด แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กม. เป็นลานหินกว้างเกือบ 2,000 ไร่ ใกล้ชายแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีร่องรอยการตัดหิน เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่างๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพรมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ
อำเภอปะคำ  ปราสาทวัดโคกงิ้ว
อำเภอโนนดินแดง
เขื่อนลำนางรอง เป็นเขื่อนดินฐานคอนกรีตขนาดใหญ่ จุน้ำได้ประมาณ 150 ล้านลูกบาศก์เมตร มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนเชื่อมต่อไปยังหมู่บ้านตัวอย่าง หมู่บ้านพัฒนาหนองตาเยาว์ และหนองหว้า ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนเพียง 20 กว่ากิโลเมตรเท่ากัน ที่สันเขื่อนมีหินลอย (หินภูเขาไฟอีกชนิดหนึ่ง) เป็นก้อนและแผ่นสีสันแบ่งกันเป็นชั้นสวยงาม ซึ่งได้นำไปกองกั้นน้ำเซาะสันเขื่อน นอกจากนี้ ยังเป็นที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงในอำเภอโนนดินแดง บรรยากาศสวยงาม มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้วยทะเลสาบเหนือเขื่อนอันกว้างใหญ่ หาดทรายสวยงามบรรยากาศดี ชาวบุรีรัมย์จึงนิยมพาครอบครัวไปพักผ่อน เล่นน้ำและรับประทานปลาสดจากเขื่อน
ปราสาทหนองหงส์
อนุสาวรีย์เราสู้ อยู่ริมทางหลวงในเขต ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ชาวบุรีรัมย์ร่วมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของประชาชน ตำรวจ และทหาร ที่เสียชีวิตจากการต่อสู้กับผู้ก่อ การร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งขัดขวางการก่อสร้าง ถนนสายละหานทราย - ตาพระยา
ผาแดง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ บ้านหนองเสม็ด ต.ลำนางรอง อ.โนดินแดง จ.บุรีรัมย์ เป็นเขตติดต่อระหว่าง อ.โนนดินแดง กับ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดบุรีรัมย์ นักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติสามารถมาสัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ชมดวงอาทิตย์ตก ทัศนียภาพของผืนป่าธรรมชาติอันกว้างใหญ่สวยงามของเทือกเขาบรรทัด และป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธุ์ นักท่องเที่ยวจะได้พบกับทะเลหมอกปกคลุมป่าดงใหญ่ - เทือกเขาบรรทัดอันซับซ้อนสวยงามด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นจุดพักรถของคนเดินทางผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ ไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคตะออกด้วย ซึ่งช่วงนี้ในแต่ละวันได้มีนักท่องเที่ยวและผู้ที่เดินทางแวะมาเที่ยวชมพักผ่อน ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกเป็นจำนวนมาก ไม่แพ้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในพื้นที่อำเภอโนนดินแดงอีกด้วย
อำเภอสตึก  พระพุทธรูปใหญ่ (พระพุทธรูปปฏิมาสันตยาภิรมย์สตึกอุดมราษฎรนิมิตนมิน)
อำเภอลำปลายมาศ  อุทยานลำน้ำมาศ

อำเภอพุทไธสง
วัดศีรษะแรด (วัดหงส์) พระเจ้าใหญ่วัดหงส์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะของศิลปะพื้นเมืองปรากฏอยู่มาก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดหงส์ หรือวัดศีรษะแรด ในอำเภอพุทไธสง ทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำ หรือวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 จะจัดงานเฉลิมฉลองทุกปี มีชาวอำเภอพุทไธสง และจังหวัดต่างๆ ไปนมัสการกราบไหว้เป็นจำนวนมาก
คำว่า "พระเจ้า" ในภาษาไทยอีสาน หมายถึง "พระพุทธรูป" ที่เรียกพระเจ้าใหญ่คงมิใช่ขนาดองค์พระพุทธรูปแต่หมายถึงความยิ่งใหญ่ ความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นที่เคารพสักการะของชาวบุรีรัมย์และประชาชนจากจังหวัดต่างๆ อย่างมาก โดยเฉพาะการสาบานและการอธิฐาน เคยปรากฏว่าผู้ที่ผิดคำสาบานได้รับภัยพิบัติต่างๆ จึงได้มีผู้ไปสาบานงดเว้นอบายมุข เลิกดื่มสุรา สักการะกราบไหว้ขอให้คุ้มครองรักษาอยู่มิได้ขาด นอกจากนี้ ยังได้พบพระพิมพ์รูปใบขนุน และพระพุทธรูปแกะสลักจากนอแรดที่ใต้ฐานพระเจ้าใหญ่ด้วย
อำเภอนาโพธิ์
หมู่บ้านทอผ้าไหมนาโพธิ์ ผ้าไหมที่อำเภอนาโพธิ์จะมีทั้งผ้าไหมพื้นไหมหางกระรอก ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า และผ้ามัดหมี่ การทอผ้ามัดหมี่จะมีลายพื้นเมืองดั้งเดิม และลายที่ประยุกต์ขึ้นใหม่ ลักษณะเด่นของผ้าไหมบุรีรัมย์ คือเนื้อจะแน่น เส้นไหมละเอียด ถ้าเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่เป็นแบบพื้นเมืองดั้งเดิมจะนิยมใช้สีขรึมๆ ไม่ฉูดฉาด

อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ 
ปรางค์กู่สวนแตง เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมสมัยนครวัดเป็นโบราณสถานอีกแห่งที่ถูกวางระเบิดจนองค์ปรางค์พังทลายลงมาเพื่อโจรกรรม ชิ้นส่วนปราสาทไปขาย ภายหลังกรมศิลปากรได้บูรณะใหม่จนมีความสมบูรณ์ และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547
ลักษณะของกู่ประกอบด้วย ปรางค์อิฐ 3 องค์ ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน อาคารทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูหน้าเพียงประตูเดียว อีก 3 ด้าน สลักเป็นประตูหลอก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน มีลักษณะยื่นออกมาและมีแผ่นศิลาทรายรองรับ ส่วนปรางค์อีกสององค์มีขนาดเล็กกว่าฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีประตูเดียวทางด้านหน้า เช่นกัน ส่วนผนังอีก 3 ด้าน ก่อเรียบทึบ สำหรับบนพื้นหน้าปรางค์มีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายอื่นๆ ตกหล่นอยู่ เช่น ฐานบัว ยอดปรางค์ กลีบขนุน รูปนาค 6 เศียร อายุของกู่สวนแตงสามารถกำหนดได้จากทับหลังของปรางค์ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากภาพสลักบนทับหลังทั้งหมดมีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบนครวัด ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว อาทิเช่น ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์ตรีวิกรม (ตอนหนึ่งในวามนาวตารแสดงภาพพระนารายณ์ย่างพระบาท 3 ก้าว เหยียบโลกบาดาล โลกมนุษย์ และโลกสวรรค์) ทับหลังภาพศิวนาฎราช ทับหลังภาพการกวนเกษียรสมุทร ทับหลังภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ ฯลฯ แต่ละชิ้นมีขนาดใหญ่สวยงามน่าสนใจยิ่ง





ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง 


จังหวัดบึงกาฬ   เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย

การท่องเที่ยว
เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว (อ.บุ่งคล้า) ผืนป่าใหญ่ของ จ. บึงกาฬ และเป็นป่าอนุรักษ์ที่สวยสมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ภายในพื้นที่มีน้ำตกสวยงามหลายแห่ง โดยมีน้ำตกชะแนนเป็นน้ำตกขนาดใหญ่สุด
น้ำตกเจ็ดสี (อ.เซกา) น้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว สายน้ำไหลตกจากหน้าผาหินทรายแล้วแผ่กว้างออกสวยงามตระการตา ด้านล่างมีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำและโขดหินให้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ
น้ำตกตาดกินรี (อ.บึงโขงหลง) อยู่ในป่าภูลังกา เป็นน้ำตกใหญ่ไหลลงสู่หุบเหว น้ำตกชั้นบนไหลลดหลั่นกันไปตามลานหินกว้าง และมีแอ่งน้ำใสให้เราสามารถลงไปเล่นน้ำกันได้
บึงโขงหลง (อ.บึงโขงหลง) ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์นก โดยเฉพาะนกน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว ทั้งห่านป่า นกเป็ดน้ำ นกยาง นกกระเต็น มีจุดดูนกอยู่ดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง บริเวณบึงยังมีหาดคำสมบูรณ์ที่มีหาดทรายทอดยาวในช่วงฤดูหนาว เป็นแหล่งพักผ่อนและชมวิวทิวทัศน์ มองเห็นภูลังกาเป็นฉากหลัง
ภูทอก (อ.ศรีวิไล ) ภูเขาหินทราย ที่มีวัดเจติยาคีรีวิหาร ตั้งอยู่เชิงเขา และมีสะพานไม้สร้างวนเวียนขึ้นไปสู่ยอดเขารวม 7 ชั้น เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปยังกุฏิและถ้ำที่อยู่ตามหลืบผา และมองเห็นความสวยงามของภูมิประเทศเบื้องล่างได้ไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าในวันที่อากาศแจ่มใสอาจมองได้ไกลถึงเทือกเขาในเขตจังหวัดนครพนม
วัดสว่างอารมณ์ (อ. ปากคาด) ภายในวัดมีโบสถ์อยู่ยนก้อนหินใหญ่ หลืบถ้ำด้านล่างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ปางปรินิพพาน บริเวณด้านบนก้อนหินเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์สวยงามของแม่น้ำโขง
หาดทรายขาว (อ. บึงกาฬ) เป็นหาดทรายขาวริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สวยงามระยะทางยาวประมาณ 2 กม. เมื่อยามเช้าและเย็นอากาศดีลมพัดเย็นสบาย และความสวยงามเมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า
แก่งอาฮง (อ.บึงกาฬ) เป็นแก่งหินกลางลำน้ำโขง บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส บ้านอาฮง ตำบลหอคำ ถือว่าเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้ กระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮงจะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลากและมีกระแสน้ำไหลวนเป็น รูปกรวยขนาดใหญ่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น "สะดือแม่น้ำโขง" แม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮงมีความกว้างประมาณ300 เมตร ในฤดูน้ำลดและมีความกว้างราว 400 เมตร ในฤดูน้ำหลาก และจะสามารถมองเห็นแก่งได้ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคมของทุกปี และกลุ่มหินที่ปรากฎบริเวณแก่งอาฮงจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้น นาค หินปลาเข้ ถ้ำปลาสวาย นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอบึงกาฬและเป็นสถานที่ เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ"บั้งไฟพญานาค" ในช่วงประเพณี ออกพรรษา จะมีนักท่องเที่ยวมาพักเที่ยวชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บริเวณบ้านอาฮงเป็นจำนวนมาก จะมีมากในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ที่ปฏิทินไทย กับปฏิทินประเทศ สปป.ลาวตรงกัน และชาวบ้านโดยรอบยังอาศัยทำการประมงด้วย
หนองกุดทิง (อ.บึงกาฬ) แหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยังความเป็นธรรมชาติไว้อย่างแท้จริง ด้วยมีพื้นที่เชื่อมต่อแม่น้ำโขง ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีความความหลากหลายทางชีวภาพจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับโลก (พื้นที่แรมซาร์) แห่งที่ 11 ของประเทศไทย หนองกุดทิง มีพื้นที่ราว 22,000 ไร่ มีสัตว์น้ำอาศัยอยูมากกว่า 250 สายพันธุ์ มีปลาที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในโลกถึง 20 สายพันธ์ มีนกพันธุ์ต่างๆกว่า40 ชนิด เหมาะสำหรับการมาพักผ่อน ชื่นชมธรรมชาติในวันสบายๆ
ตลาดสองฝั่งโขง (อ.บึงกาฬ) เป็นตลาดริมแม่น้ำโขง ที่มีพ่อค้าแม่ค้าทั้งคนไทย และคนลาวข้ามฟากมาเปิดขายสินค้าในท้องถิ่นกันอย่างคึกคัก ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง เสื้อผ้า ของกินพื้นถิ่น เดินเล่นชิลล์ๆ ใน
บรรยากาศแบบพื้นบ้าน ติดตลาดเฉพาะวันอังคารกับวันศุกร์



ประเพณี
ประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดบึงกาฬ ได้รับการสืบทอดมาอย่างรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่ขาดหาย เพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างดี เทศกาลต่างๆ ของจังหวัดบึงกาฬ เช่น เทศกาลบุญบั้งไฟ, เทศกาลสงกรานต์ ประเพณีแข่งเรือ 









พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม  ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร



จังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางของภาค และเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



สถานที่ท่องเที่ยว
อำเภอเมืองมหาสารคาม  ปรางค์กู่บ้านเขวา อ่างเก็บน้ำหนองแวง    แก่งเลิงจาน   วัดมหาชัย (พระอารามหลวง)
พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคาม  ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน    หอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
หมู่บ้านปั้นหม้อ   อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย
สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
วัดอุทัยทิศ    กุดนางใย  เสาหงส์   โฮงเจ้าเมืองคนที่ 1 ที่ตั้งเมืองและศูนย์ราชการ
คลองสมถวิล  วัดนาควิชัย   วัดอภิสิทธิ์  เดิ่นบ้านใหญ่  ตึกดินอาคารพาณิชย์แห่งแรก
ตลาดสี่กั๊ก    โฮงเจ้าเมืองคนที่ 2  โฮงเจ้าเมืองคนที่ 3 ตลาดเจริญ  วัดโพธิ์ศรี
วัดมหาชัย (พระอารามหลวง) ตลาดสดเมืองมหาสารคาม หอนาฬิกา โรงเรียนสารคามพิทยาคม
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  วัดธัญญาวาส  อำเภอกันทรวิชัย  พระพุทธรูปยืนมงคล  พระพุทธมิ่งเมือง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดพุทธมงคล
 อำเภอบรบือ  ปรางค์กู่บัวมาศ  หนองบ่อ โรงเรียนบรบือ
อำเภอแกดำ  อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง                                                                                                    อำเภอโกสุมพิสัย บึงบอน วนอุทยานโกสัมพี
อำเภอวาปีปทุม กู่บ้านแดง อำเภอนาเชือก อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
อำเภอนาดูน  พระบรมธาตุนาดูน  พุทธมณฑลอีสาน พิพิธภัณฑ์นครจัมปาศรี พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ กู่สันตรัตน์ กู่น้อย ศาลานางขาว ฮูปแต้มสิมวัดโพธาราม
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย  ศูนย์ศิลปาชีพดอนลี่












จังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตรห่างจากจังหวัดนครราชสีมา410กิโลเมตร เดิมเป็นส่วนหนึงของจังหวัดนครพนม




สถานที่สำคัญ   หอแก้วมุกดาหาร  ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง  ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง  วัดศรีมงคลใต้
วัดศรีบุญเรือง  สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)  อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร หอยสมัยหิน
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว  กลองมโหระทึก  ฐานปฏิบัติการวรพัฒน์ วัดภูด่านแต้ วัดภูพระบาทแก่นจันทน์     วนอุทยานภูหมู อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก วัดบรรพตคิรี  น้ำตกตาดโดน หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แก่งกะเบา  วัดมโนภิรมย์ วัดพระศรีมหาโพธิ์วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ 









เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ



จังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จัดตั้งโดยคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 อันให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมจังตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 สืบไป ทั้งนี้ จังหวัดยโสธ เดิมเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านสิงห์ท่า ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงยกฐานะเป็นเมืองยโสธร              มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ถึง พ.ศ. 2443 รวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานีจนถึง พ.ศ. 2450 เมื่อยุบบริเวณอุบลราชธานี จัดตั้งเป็นจังหวัดอุบลราชธานี จึงเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี กระทั่งมีประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว



ปัจจุบัน จังหวัดยโสธรอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 128 เมตร ตั้งศาลากลางจังหวัดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร ณ ละติจูด 15° 47´.6 เหนือ ลองจิจูด 104° 08´.7 ตะวันออก ประกอบด้วยอำเภอ 9 อำเภอ, ตำบล 78 ตำบล และหมู่บ้าน 835 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4,162 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร, ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี, ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดห่างจากจังหวัดนครราชสีมา340กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีภูเขาขนาดเล็กเป็นบางบริเวณในตอนเหนือของจังหวัด ด้านตะวันตกของจังหวัดมีลำน้ำยังไหลผ่านจากทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่แม่น้ำชี
ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดยโสธร มีการทำนา ปลูกปอแก้ว มันสำปะหลัง และถั่วลิสง มีแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ เช่น วัดมหาธาตุ พระธาตุยโสธร พระธาตุก่องข้าวน้อย สวนสาธารณะพญาแกน หมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน ซากเมืองโบราณบ้านสงเปือย ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย กู่จาน ภูถ้ำพระ เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน รอยพระพุทธบาทจำลอง
สถานที่สำคัญ  วัดมหาธาตุ   พระธาตุก่องข้าวน้อย  บ้านทุ่งนางโอก  หมู่บ้านนาสะไมย  ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า
หมู่บ้านทำหมอนขิดบ้านศรีฐาน  ภูถ้ำพระ  แหล่งโบราณสถานบ้านสงเปือย  พระพุทธรูปใหญ่
เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน  รอยพระพุทธบาทจำลอง  พิพิธภัณฑ์ของโบราณ ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย
กู่จาน   พระพุทธบาทยโสธร   หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์

พระธาตุก่องข้าวน้อย 











สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลาโลกลือชาข้าวหอมมะลิ

จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานของไทย ที่อดีตเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปรากฏชื่อในตำนานอุรังคธาตุว่า สาเกตนคร หรือ เมืองร้อยเอ็จประตู อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องโดยที่มีเมืองขึ้นจำนวนมาก                                 การตั้งชื่อเมืองว่า "ร้อยเอ็จประตู" นั้น น่าจะเป็นการตั้งชื่อเชิงอุปมาอุปไมยให้เป็นศิริมงคลและแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของเมืองมากกว่าการที่เมืองจะมีประตูเมืองอยู่จริงถึงร้อยเอ็ดประตู ซึ่งการตั้งชื่อเพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองผ่านการมีประตูเมืองจำนวนมากนั้น น่าจะได้รับอิทธิพลหรือแบบอย่างมาจากเมืองหรืออาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองในสมัยโบราณอย่างทวารวดีซึ่งมีความหมายว่าเมืองที่มีประตูล้อมรอบเป็นกำแพง หรืออย่างเมืองหงสาวดีที่มีประตูเมืองรายล้อมกำแพงเมืองอยู่ยี่สิบประตู ซึ่งแต่ละประตูนั้นจะตั้งชื่อตามเมืองขึ้นของตน เช่น เชียงใหม่ อโยธยา จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น นอกจากนั้นการตั้งชื่อเมืองให้ดูยิ่งใหญ่เกินจริงเพื่อความเป็นศิริมงคลก็ถือเป็นธรรมดาของการตั้งชื่อเมืองหรืออาณาจักรในสมัยโบราณ
ในส่วนของข้อสันนิษฐานที่ว่าเมืองร้อยเอ็ดน่าจะมีเพียงสิบเอ็ดหัวเมือง อันเนื่องมาจากการเขียนจำนวนตามแบบภาษาลาวโบราณ โดยเลขสิบเอ็ดจะประกอบไปด้วยเลขสิบกับเลขหนึ่ง (10+1 =101)ทำให้เกิดการอ่านที่ผิดเพี้ยนเป็นคำว่าร้อยเอ็ดนั้น น่าจะเป็นสมมุติฐานที่คลาดเคลื่อน เพราะจากการตรวจสอบข้อความตัวอักษรธรรมในต้นฉบับใบลานเรื่องอุรังคธาตุไม่ปรากฏว่ามีจุดไหนที่เขียนชื่อเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวเลข แต่กลับมีการเขียนถึงเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวอักษรทุกจุด (มีทั้งหมด 59 จุด) และไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายแจกแจงรายชื่อหัวเมืองทั้ง11 แห่ง (อ่านเพิ่มเติม ที่ ร้อยเอ็ด คือ ร้อยเอ็ด มิใช่สิบเอ็ด หรือ 10 + 1 โดย สุวัฒน์ ลีขจร) 
ประกอบกับตามธรรมดาของการตั้งชื่อต่างๆไม่ว่าจะคนหรือเมืองนั้น จะต้องมีการออกเสียงก่อนถึงจะมีการเขียนเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข ซึ่งหากชื่อเมืองแต่เดิมชื่อว่าเมืองสิบเอ็ดประตูแล้ว จึงมีการจารึกชื่อเป็นตัวเลขอย่าง 101 นั้น คำว่าสิบเอ็ดก็ไม่น่าจะออกเสียงเพี้ยนจนมาเป็นคำว่าร้อยเอ็ดอย่างในปัจจุบันได้ ดังนั้นชื่อเมืองร้อยเอ็ดหรือเมืองร้อยเอ็ดประตูจึงน่าจะเป็นชื่อเมืองที่มีมาอยู่แต่แรกเริ่มดังปรากฏในหลักฐานสำคัญ คือ ตำนานอุรังคธาตุฉบับกรมศิลป์ฯ
สรุปความหมาย ก็คือ มีคำ 2 คำที่ต้องทำความเข้าใจ คำแรก คือคำว่า ร้อยเอ็ด แปลว่าจำนวนที่มากมายจนนับไม่ถ้วน และ อีกคำหนึ่ง ก็คือ คำว่า เมืองร้อยเอ็ดประตู ซึ่งมีนักวิชาการ ได้ตีความว่าน่าจะหมายถึง ทวารวดี เพราะ ทวาร แปลว่า ช่อง, รู, ประตู วติ หรือ วดี แปลว่า เขต หรือ รั้ว ทวารดี จึงแปลว่า เมืองที่มีประตูเป็นรั้ว ซึ่งเปรียบเทียบแล้วน่าจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่าเมืองร้อยเอ็ดประตูที่สุด
บึงพลาญชัย
บึงพลาญชัยตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพรรณไม้ต่าง ๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่าง ๆ หลายพันธุ์ มีเรือจักรยานน้ำและเรือพายไว้บริการประชาชนพายเล่นในบึง นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่าง ๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ
§  ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นของคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือ และเชื่อว่าเจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองมีความสุข คิดสิ่งใดสมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมืองร้อยเอ็ดจะพากันมากราบนมัสการขอพรเป็นประจำ
§  พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
§  พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
§  ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลอง และรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์
§  สนามเด็กเล่น และ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล 
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย พระอาจารย์ศรี มหาวิโรซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระมหาเจดีย์นี้ออกแบบโดยกรมศิลปากรเป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109 เมตร ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือนอยู่บนวิมานแดนสวรรค์
 ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
 ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร
 ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
  ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสมถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
 ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ



ประเพณีบุญผะเหวด
ผ้าผะเหวด
เป็นบุญประเพณีที่มีการเทศน์มหาชาติเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะจังหวัดได้กำหนดให้เป็นงานประเพณีประจำปีของจังหวัดและจัดได้ยิ่งใหญ่มากเป็นไปตามฮีต 12 คือหมายถึงเดือนสี่มีการทำบุญผะเหวดดังคำกล่าวไว้ในฮีตว่า
ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผาหามาลา
ดวงหอมสู่ตนเก็บไว้
อย่าได้ไลคองนี้เสียศรีสูญเปล่า
หาเอาตากแดดไว้ได้ทำแท้สู่คน
อย่าได้ไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า
ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญเด้
มูลเหตุแห่งการทำ
มีกล่าวไว้ในหนังสือมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยให้ไปไหว้พระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับพระศรีอาริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งจะได้จุติกาลลงมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยแล้วจึงสั่งความกับพระมาลัยว่า "หากใครต้องการจะพบและเกิดในสมัยพระศรีอาริย์ ให้ทำแต่ความดี อย่าฆ่าพ่อตีแม่ สมณชี พราหมณ์ ครูอาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้า อย่ายุยงสงฆ์ให้แตกกัน และต้องฟังเทศน์มหาชาติให้จบทุกกัณฑ์ในวันเดียว ท่านทั้งหลายจะได้เกิดร่วมและพบพระองค์" ด้วยเหตุนี้เอง ชาวร้อยเอ็ดจึงได้พากันทำบุญผะเหวดและไปฟังเทศน์มหาชาติทุกปี โดยกำหนดเอาวันศุกร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมเป็นวันจัดงาน
ขั้นตอนพิธีทำ
เมื่อกำหนดวันจัดงาน ชาวบ้านจะช่วยกันหาดอกไม้มาตากแห้งไว้ ช่วยกันฝานดอกโน (ทำจากลำต้นหม่อน) งานนี้เป็นงานใหญ่ทำติดต่อกัน 3 วัน
วันแรกของงาน ตอนเย็น (บ่าย ๆ) จะมีการแห่พระอุปคุตรอบบ้านให้ชาวบ้านได้สักการบูชา แล้วนำไปประดิษฐานไว้หออุปคุต ภายในบริเวณงานเพราะเชื่อว่าเป็นพระเถระ ผู้มีฤทธิ์ นิรมิตกุฏิอยู่กลางแม่น้ำมหาสมุทร สามารถขจัดเภทภัยทั้งมวลได้
วันที่ 2 ของงานเป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง แต่ละคุ้มวัดจะจัดขบวนแห่ แต่ละกัณฑ์ทั้ง 13 กัณฑ์แห่รอบเมือง ตอนเย็นมีมหรสพสมโภช ในวันที่ 2 ที่ 3 ชาวร้อยเอ็ดจะมี โรงทานเลี้ยงข้าวปุ้นบุญผะเหวด ผู้คนที่มาในงานกินได้ตลอดเวลา (ฟรี) มีชาวบ้าน ร้านค้า และ หน่วยงานราชการมาตั้งโรงทานมากมาย
วันที่ 3 ของงานเริ่มตั้งแต่เช้ามืด ประมาณตี 4 ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวมาปั้นเสียบไม้จำนวน 1,000 ก้อน เพื่อเอาบูชากัณฑ์เทศน์ คาถาพัน เรียกว่า"ข้าวพันก้อน" ชาวบ้าน จะพากันแห่ข้าวพันก้อนรอบศาลาวัด มีหัวหน้ากล่าวคำบูชา ดังนี้ "นะโม นะไม จอมไตรปิฎก ยกออกมาเทศนาธรรม ขันหมากเบ็งงานสะพาส ข้าวพันก้อนอาดบูชา ซาเฮาซา สามดวงยอดแก้ว ข้าไหว้แล้วถวายอาดบูชา สาธุ" ว่าดังนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 3 จบ แล้วนำขึ้นไปศาลาโรงธรรม แล้วญาติโยมพากันทำวัตรเช้า อาราธนาศีลอาราธนาเทศน์ โดยอาราธนาเทศน์พระเวสโดยเฉพาะ การอาราธนาเทศน์พระเวสนั้น ถ้าไม่ต้องว่ายาวจะตัดบทสั้นๆ ก็ได้ ให้ขึ้นตรง "อาทิกัลยาณังฯ เปฯ อาราธนัง กโรม" เท่านี้ก็ได้
แล้วพระสงฆ์จะเริ่มเทศน์สังกาด เป็นการพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนาเริ่มแต่ต้นจนถึงอันตรธาน เมื่อเทศน์สังกาดจบแล้วจึงเริ่มเทศน์กัณฑ์ทศพรไปจนจบนครกัณฑ์ อันเป็นกัณฑ์ที่ 13 เทศน์แต่เช้ามืดไปจนค่ำ จบแล้วจัดขันขอขมาโทษพระสงฆ์ให้พรเป็นเสร็จพิธี ในวันที่ 3 นี้เอง ชาวบ้านชาวเมืองจะแห่กัณฑ์หลอนมาร่วมถวายกัณฑ์เทศน์ตลอดทั้งวัด กัณฑ์เทศน์จะมี 2 ลักษณะ
กัณฑ์หลอน เป็นการแห่กัณฑ์เทศน์มา ถึงบริเวณที่พระกำลังเทศน์ก็ถวายกัณฑ์เทศน์โดยไม่เจาะจงว่าจะเป็นพระสงฆ์รูปใด
กัณฑ์จอบ เป็นกัณฑ์เทศน์ที่กลุ่มผู้ถวายปรารถนาจะถวายเฉพาะภิกษุที่ตนชอบ เคารพศรัทธา จึงมีการส่งคนไปสอดแนมว่าขึ้นเทศน์หรือยัง ภาษาอีสานเรียกว่า "จอบ" แอบดู จึงเรียกกัณฑ์เทศน์ประเภทนี้ว่า "กัณฑ์จอบ"
ทุ่งกุลาร้องไห้
ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินเป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้
ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย







เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม



จังหวัดเลย   เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 520 กิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย

สถานที่ท่องเที่ยว

พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย
    
                                                                  ภาพเมืองเชียงคาน
  • อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
  • อุทยานแห่งชาติภูเรือ
  • อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (ชื่อเดิมคืออุทยานแห่งชาตินาแห้ว)
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
  • สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ อำเภอภูเรือ
  • สวนหินผางาม อำเภอหนองหิน
  • วนอุทยานน้ำตกห้วยเลา อำเภอภูหลวง
  • เมืองเก่าเชียงคาน อำเภอเชียงคาน
  • แก่งคุดคู้ อำเภอเชียงคาน
  • หมู่บ้านไททรงดำ อำเภอเชียงคาน
  • ศูนย์ศิลป์สิรินธร โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง
  • สวนรุกขชาติ 100 ปี (กรมป่าไม้) อำเภอวังสะพุง
  • ห้วยกระทิง อำเภอเมืองเลย
  • พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย
  • วัดพระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย
  • วัดเนรมิตรวิปัสสนา อำเภอด่านซ้าย
  • ภูลมโล อำเภอด่านซ้าย
  • พระธาตุสัจจะ อำเภอท่าลี่
ประเพณีและเทศกาลรื่นเริง
  • งานประเพณีผีตาโขน 
  • งานนมัสการพระธาตุศรีสองรัก
  • งานดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย
  • งานแสดงไม้ดอกเมืองหนาว
  • งานออกพรรษาเชียงคาน
  • งานแห่ผีขนน้ำ
  • งานบุญบั้งไฟล้าน (อำเภอเอราวัณ)




พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม

จังหวัดสกลนคร   เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้จังหวัดสกลนครยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญและหลากหลายในด้านต่างๆโดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และเป็นจังหวัดศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศูนย์กลางทางการศึกษา อันเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ใน กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์)


 สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน   วัดพระธาตุเชิงชุม  วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง วัดพระธาตุภูเพ็ก
วัดพระธาตุดูม  วัดพระธาตุศรีมงคล  ปราสาทบ้านพันนา  วัดทุ่ง พระธาตุเมืองอากาศ
วัดถ้ำขาม  วัดถ้ำพวง  วัดคำประมง  วัดป่าสุทธาวาส วัดป่าอุดมสมพร วัดป่าดงหม้อทอง
วัดป่าโนนกลางภู่  วัดดอยธรรมเจดีย์ วัดชัยมงคล (อารยธรรมบ้านเชียง) วัดพระพุทธไสยาราม
ถ้ำพระพุทธไสยาสน์  พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูผายล อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก อุทยานแห่งชาติห้วยหวด
น้ำตกปรีชาสุขสันต์  น้ำตกแก่งเต่า น้ำตกคำหอม น้ำตกห้วยใหญ่  ผาสุริยันต์  ผาน้ำโจ้ก
ผาดงก่อ  ผาศักดิ์  เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง ภูอ่างศอ ภูผาแด่น สุสานไดโนเสาร์  ถ้ำเสรีไทย
วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง 
อนุสรณ์สถาน จิตร ภูมิศักดิ์  สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สกลนคร  หนองหาร อุทยานบัว หนองหารเฉลิมพระเกียรติ  หอส่องดาว  โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่
วัดป่าสุทธาวาส


พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์  
 โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่



























สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม



จังหวัดสุรินทร์  เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม มีผู้คนหลายเผ่าและภาษา เช่น ไทยอีสานเขมร ส่วย หรือ กูย มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 9 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24

มรดกทางธรรมชาติ

สนสองใบ
พื้นที่ระหว่างอำเภอสังขะ และอำเภอลำดวน มีป่าสนสองใบขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวสุรินทร์เรียกบริเวณนี้ว่า "ป่าพนาสน" ป่าสนสองใบที่จังหวัดสุรินทร์นี้ไม่เหมือนป่าสนทั่วๆไปเนื่องจากเป็นป่าสนที่ขึ้นอยู่บนพื้นราบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 กว่าเมตรเท่านั้น และขึ้นปะปนอยู่กับไม้เบญจพรรณ เช่น ไม้ยางนา กระบาก เหียง ตาด นนทรีป่า ประดู่ ลำดวนและมะค่าแต้ ในปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลไทยได้รับความร่วมมือจากประเทศเดนมาร์ก มอบให้กรมป่าไม้จัดตั้งเป็น สถานีอนุรักษ์พันไม้ป่าหนองคู เพื่อดำเนินการศึกษาและวิจัย และจัดการเขตอนุรักษ์พันธ์ไม้สนสองใบ ป่าสนสองใบที่บ้านหนองคูนี้ นับเป็นมรดกทางธรรมชาติที่สำคัญ และเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์



มรดกทางวัฒนธรรม
หมู่บ้านเลี้ยงช้าง
ปราสาทบ้านไพล


โบราณสถาน

กลุ่มปราสาทตาเมือน อยู่ที่ ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

ปราสาทภูมิโปน อยู่ที่ บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย อยู่ที่ บ้านจาน ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทมีชัยหรือปราสาทหมื่นชัย อยู่ที่ บ้านถนน ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทยายเหงา อยู่ที่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทบ้านพลวง อยู่ที่ บ้านพลวง ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทบ้านไพลหรือวัดโคกปราสาท อยู่ที่ บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ปราสาททนง อยู่ที่ บ้านปราสาททนง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทอังกัญโพธิ์ อยู่ที่ บ้านอังกัญโพธิ์ ตำบลโคกยาง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทโอรงา อยู่ที่ บ้านโคกสะอาด ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทเขาพนมสวาย อยู่ที่ในวัดพนมศิลาราม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทเมืองที อยู่ที่บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทบ้านอนันต์ หรือ ปราสาทอานาร์ อยู่ที่วัดโพธิญาณ ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทศีขรภูมิหรือปราสาทบ้านระแงง อยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทช่างปี่ อยู่ที่บ้านช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทนางบัวตูม อยู่ที่บ้านสระถลา ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์






หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม                                                                                              ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ                                                                                                          เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี





จังหวัดศรีสะเกษ  จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งในบรรดา 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานครประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอมีประชากรราว 1.45 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาถิ่นอีสาน, ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมร ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิม
มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ศิลปะขอมตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน (ตำบลลำดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ในปัจจุบัน) เป็นเมืองศรีนครลำดวน ต่อมาโยกย้ายลงทางใต้และได้ชื่อใหม่เป็นเมืองขุขันธ์ และในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ได้ย้ายเมืองไปยังบริเวณตำบลเมืองเก่า (ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) แต่เรียกชื่อเมืองขุขันธ์ ตามเดิม กระทั่งยกฐานะเป็น จังหวัดขุขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2481




ของดีศรีสะเกษ
แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ ในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร, สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ, ปรางค์กู่, ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย, ปราสาทสระกำแพงใหญ่, ปราสาทเยอ, ปราสาทหินบ้านปราสาท, ปราสาทหินโดนตวล, บึงนกเป็ดน้ำไพรบึง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลาส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าวหอมมะลิ, ผลไม้ เช่น ทุเรียน และเงาะ, พืชสวน เช่น หอมแดง, กระเทียม และยางพารา ตลอดจนพืชไร่ เป็นต้นว่า มันสำปะหลัง และถั่วลิสง 












วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว

จังหวัดหนองคาย    เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับประเทศลาว มีพื้นที่แคบแต่ยาว มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการชมบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษา
 สถานที่สำคัญ
อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว
     
หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย
       

อำเภอเมือง
  • วัดโพธิ์ชัย
  • พระธาตุหล้าหนอง (พระธาตุกลางน้ำ)
  • ศาลาแก้วกู่
  • ตลาดท่าเสด็จ
  • สะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์)
  • วัดพระธาตุบังพวน
  • อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ
  • หาดจอมมณี
  • ห้องสมุดรถไฟ สถานีรถไฟหนองคาย (ใหม่)
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย
อำเภอท่าบ่อ
  • วัดศรีชมพูองค์ตื้อ 
  •  หมู่บ้านทำยาสูบ
  • หมู่บ้านทำแผ่นกระยอ
  • หมู่บ้านประมงน้ำจืด
อำเภอศรีเชียงใหม่
  • วัดอรัญบรรพต พระสุธรรมเจดีย์
  • วัดหินหมากเป้ง   น้ำตกวังหมอก
อำเภอสังคม
  • วัดถ้ำศรีมงคล (วัดถ้ำดินเพียง)
  • วัดผาตากเสื้อ
  • น้ำตกธารทอง
  • น้ำตกธารทิพย์ หรือ น้ำตกตาดเสริม
อำเภอรัตนวาปี
  • ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย
อำเภอสระใคร  วัดมฤคทายวัน (วัดดงแขม)








ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน






จังหวัดหนองบัวลำภู  เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่แยกตัวออกมาจากอุดรธานีเมื่อ พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดสระแก้ว

สถานที่ท่องเที่ยว  วัดถ้ำกลองเพล   พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว    กุฏิเก่าของหลวงปู่ขาว
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว  เจดีย์หลวงปู่ขาว มณฑปหลวงปู่ขาว ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งที่ 1
วนอุทยานน้ำตกเฒ่าโต้  วนอุทยานบัวบาน  วัดศรีคูณเมือง  หนองบัว พิพิธภัณฑ์สุสานหอยหิน 150 ล้านปี
ศูนย์หัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์  ศูนย์พัฒนาอาชีพวัดสว่างศิลา แหล่งโบราณคดีภูผายา
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ  จุดชมวิวช่องเขาขาด  ภูพานคำ ภูเก้า ภูน้อย ภูหินลาดช่อฟ้า ภูผายา
ถ้ำสุวรรณคูหา  ถ้ำเอราวัณ หาดโนนยาว (เขื่อนอุบลรัตน์) 


พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว 


ถ้ำเอราวัณ
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช








น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี  ธานีผ้าหมี่ขิด                                               แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์




จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่) และยังมีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศ มีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อำเภอหนองหาน

 แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
1.             สวนสาธารณหนองประจักษ์ อำเภอเมืองอุดรธานี
2.             ภูฝอยลม อำเภอหนองแสง
3.             ทะเลบัวแดง อำเภอกุมภวาปี
4.             อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยหลวง อำเภอเมืองอุดรธานี
5.             สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ อำเภอเมืองอุดรธานี
6.             วนอุทยานนายูง อำเภอน้ำโสม
7.             อ่างเก็บน้ำพานสร้างคอม
8.             อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
9.             คำชะโนด อำเภอบ้านดุง
10.      น้ำตกธารงาม
11.      หนองหาน กุมภวาปี
12.      วนอุทยานวังสามหมอ

อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม


แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี
1.             อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมืองอุดรธานี
2.             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อำเภอหนองหาน
3.             อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ
4.             พระพุทธบาทหลังเต่า
5.             พระพุทธบาทบัวบาน
6.             พระพุทธบาทบัวบก
7.             วัดป่าภูก้อน
8.             วัดป่าบ้านตาด
9.             วัดทิพยรัฐนิมิตร
10.      ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี
11.      ศาลเจ้าปู่ย่า
12.      วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมืองอุดรธานี
13.      วัดมัชฌิมาวาส อำเภอเมืองอุดรธานี
14.      คำชะโนด อำเภอบ้านดุง อำเภอบ้านดุง
15.      ศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธ อำเภอบ้านดุง เทศบาลเมืองบ้านดุง
16.      อุตสหกรรมเกลือสินเธาว์ อำเภอบ้านดุง











อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่นำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล


จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยว




สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม
·         หอไตรหนองขุหลุ
·         วัดภูหล่น
·         วัดป่าไทรงาม
·         วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
·         วัดศรีอุบลรัตนาราม
·         พิพิธภัณฑ์บ้านปะอาว
·         วัดป่านานาชาติ
·         วัดสวนหินผานางคอย
·         วัดหนองป่าพง
·         วัดทุ่งศรีเมือง
·         วัดภูหล่น
·         วัดมหาวนาราม

สามพันโบก



สถานที่ท้องเที่ยวทางธรรมชาติ

  • อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
  • อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
  • อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
  • วนอุทยานน้ำตกผาหลวง
  • แก่งสะพือ
  • ชมรมอนุรักษ์ม้าพันธุ์พื้นบ้านสิรินธร
  • เขื่อนสิรินธร
  • สามพันโบก
  •  (น้ำตกลงรู )
  • สามเหลี่ยมมรกต
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลราชธานี ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนานอีกทั้งยังเป็นต้นตำรับของงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาของไทยด้วย ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 จนเมื่อปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน












พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม





จังหวัดอำนาจเจริญ  เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยอำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันคึออำเภอเมืองอำนาจเจริญ) อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันคืออำเภอลืออำนาจ) คำว่าอำนาจเจริญเป็นภาษาเขมร มีความหมายตามตัว คือ อำนาจเจริญ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น