วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภาษาอีสาน


 ภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไป ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย  เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์  มีชายแดนติด กับเขมร สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลย ที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง ชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ ก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ ตราบจนปัจจุบัน   เช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนม 
     ถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค   ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี
     ถ้าจะถามว่าภาษาถิ่นแท้จริงของชาวอีสานใช้กันอยู่ที่ใดคงจะตอบไม่ได้  เพราะภาษาที่คนในท้องถิ่นต่างๆใช้กันก็ล้วนเป็นภาษาอีสานทั้งนั้น   ถึงแม้จะเป็นภาษาที่มีความแตกต่างกัน  แต่ก็มีรากศัพท์ในการสื่อความหมายที่คล้ายคลึงกัน
    
     ในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่  โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น   เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง  เช่นเดียวกันกับภาษาพื้นเมืองของภาคอื่นๆ  แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่  ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง   หากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้ว  แต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วย   ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล   เมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนา   แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปี  ชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้ว ก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว    จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน   ทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน   ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้

อาหารหลักของชาวอีสาน


อาหารหลักของชาวอีสาน
ปลาร้าหลน นำปลาร้าที่เป็นตัวใหญ่พอประมาณนำไปทอดในกระทะให้สุก นิยมกินกับข้าวเหนียว เครื่องเคียงมี พริกสด โหรพา กระเทียม
ข้าวจี่ จะนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นก้อนโรยเกลือเสียบไม้ นำไปย่างไฟ แล้วทาทับด้วยไข่
ปลาร้าบอง นำปลาร้าเป็นตัวมาสับให้ละเอียดพร้อมกับใส่เครื่องปรุง เช่น ตะไคร้ พริก หอม กระเทียม ใบมะกรูด
ลาบ
ผัดหมี่โคราช
แกงอ่อม
ก้อย
แกงผักหวานไข่มดแดง
หม่ำเนื้อ
ข้าวเหนียวไก่ย่าง
ส้มตำ ซึ่งในอีสานนั้นทางนครราชสีมาหรือ โคราช จะขึ้นชื่อความอร่อยมากเลยทีเดียว
ส้มตำ

ปลาร้า

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในภาคอีสาน


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในภาคอีสาน
 เทศบาลนคร
เทศบาลนครนครราชสีมา
เทศบาลนครขอนแก่น
เทศบาลนครอุดรธานี
เทศบาลนครอุบลราชธานี
เทศบาลนครสกลนคร
เทศบาลเมือง
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
เทศบาลเมืองชัยภูมิ
เทศบาลเมืองนครพนม
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
เทศบาลเมืองมหาสารคาม
เทศบาลเมืองมุกดาหาร
เทศบาลเมืองยโสธร
เทศบาลเมืองเลย
เทศบาลเมืองศรีสะเกษ
เทศบาลเมืองสุรินทร์
เทศบาลเมืองหนองคาย
เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู
เทศบาลตำบล
เทศบาลตำบลบึงกาฬ
อบต.
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหนามแท่ง
ท่าอากาศยานนครราชสีมา
ท่าอากาศยานพาณิชย์
ท่าอากาศยานนครราชสีมา
ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
ท่าอากาศยานขอนแก่น
ท่าอากาศยานเลย
ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี
ท่าอากาศยานนครพนม
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด
                                                        ท่าอากาศยานสกลนคร
                                            


อุทยานแห่งชาติ
                                           
 อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
   ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ อำเภอวังน้ำเขียว และ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร 
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติตาดโดน
อุทยานแห่งชาติตาพระยา
อุทยานแห่งชาติไทรทอง
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
อุทยานแห่งชาติภูเรือ
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
เขาพระวิหาร
อุทยานแห่งชาติภูเวียง
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
อุทยานแห่งชาติภูผายล
อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูลังกา
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร



อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
อุทยานประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
อุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท




เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาเบาะ-ห้วยใหญ่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูซำผักหนาม
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-ยอดมน


วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สถิติประชากรของจังหวัดในภาคอีสาน


สถิติประชากรของจังหวัดในภาคอีสาน
อันดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
(31
ธันวาคม 2554) 
จำนวนประชากร (คน)
(31
ธันวาคม 2553) 
1
นครราชสีมา
2,585,325
2,582,089
2
อุบลราชธานี
1,816,057
1,813,088
3
ขอนแก่น
1,766,066
1,767,601
4
บุรีรัมย์
1,559,085
1,553,765
5
อุดรธานี
1,548,107
1,544,786
6
ศรีสะเกษ
1,452,203
1,452,471
7
สุรินทร์
1,380,399
1,381,761
8
ร้อยเอ็ด
1,305,058
1,309,708
9
ชัยภูมิ
1,127,423
1,127,423
10
สกลนคร
1,123,351
1,122,905
11
กาฬสินธุ์
981,655
982,578
12
มหาสารคาม
939,736
940,911
13
นครพนม
704,768
703,392
14
เลย
624,920
624,066
15
ยโสธร
538,853
539,257
16
หนองคาย
509,870
509,395
17
หนองบัวลำภู
502,551
502,868
18
บึงกาฬ
407,634
403,542
19
อำนาจเจริญ
372,241
372,137
20
มุกดาหาร
340,581
339,575
รวม
21,585,883
21,573,318